ปัจจุบันงานอับอากาศนั้น เป็นงานอันตรายที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุด โดยเกิดจากบริเวณที่ปฏิบัติงานนั้นมีอากาศหายใจที่ไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานขาดอากาศหายใจ บางครั้งพนักงานที่เข้าไปทำงานในที่อับอากาศ มักจะหมดสติเพราะการสูดดมแก๊สพิษทำให้เสียชีวิต ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศควรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่อับอากาศได้อย่างถูกต้อง และที่สำคัญกฎหมายได้ระบุให้ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศนั้นจะต้องได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดโดยหลักสูตรที่จะต้องอบรมมีดังนี้

หลักสูตรที่ต้องอบรม การทำงานในที่อับอากาศ

1.ผู้อนุญาต
2.ผู้ควบคุม
3.ผู้ช่วยเหลือ
4.ผู้ปฏิบัติงาน

บทบาทหน้าที่ของผู้ที่ทำงานกับที่อับอากาศ

บทบาทหน้าที่ของสำหรับผู้อนุญาต

นั้นโดยส่วนใหญ่เรามักจะพบว่าผู้อนุญาตในการทำงานที่อับอากาศ จะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เช่น ผู้จัดการในพื้นที่นั้นๆ หรือเป็นคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจในองค์กร ให้สามารถที่จะมีสิทธิ์ในการอนุญาตให้ทำงานในที่อับอากาศหรือ สั่งหยุดการทำงานกรณีที่พบว่ายังไม่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยเพียงพอ

ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของผู้อนุญาต โดยส่วนใหญ่ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ จะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในพื้นที่การทำงานได้เป็นอย่างดีและเป็นคนที่มีความชำนาญในพื้นที่รวมไปถึงอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลักษณะพื้นที่อับอากาศหรือเป็นทางหนีทีไล่ต่างๆภายในพื้นที่นั้นนั้นดังนั้นผู้ที่อนุญาตในการทำงานที่อัพอากาศโดยหลักจะต้องได้รับการแต่งตั้งและผ่านการฝึกอบรมรวมไปถึงมีความรู้ความเข้าใจในพื้นที่นั้นนั้นได้เป็นอย่างดี

บทบาทการทำงานในที่อับอากาศสำหรับผู้ควบคุมงาน

ในที่อับอากาศปัจจุบันถ้าพูดถึงผู้ควบคุมเราจะมุ่งไปที่หัวหน้างานหรือคนที่สามารถควบคุมการทำงาน ทั้งวิธีการทำงานอย่างปลอดภัยรวมไปถึงควบคุมทีมงานและพนักงานให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยตามขั้นตอน ผู้ควบคุมการทำงานในที่อับอากาศตามกฏหมายจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้าง และผ่านการฝึกอบรม เช่นกันกับผู้อนุญาต

โดยหลักแล้วจะเป็นหัวหน้าทีมและเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้กำกับดูแลทั้งงานและคน รวมไปถึงดูแลทุกขั้นตอนการทำงานจะต้องเป็นไปตามที่นัหมายกันไว้คอยกำกับควบคุมดูแลพนักงานทุกคนให้สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดระยะเวลาการทำงานในที่อับอากาศอีกทั้งมีหน้าที่คอยสังเกตการทำงานไว้ชั่วคราวกรณีที่พบว่าการทำงานเดี๋ยวพี่อัดอากาศนั้นอาจจะก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้

บทบาทหน้าที่ของผู้ช่วยเหลือในที่อับอากาศ

หรือผู้ให้สัญญาณในที่อับอากาศ ปัจจุบันผู้ที่จะเป็นทีมช่วยเหลือในการทำงานที่อับอากาศได้ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการสื่อสารเป็นคนที่คอยเฝ้าบริเวณทางเข้าออก และขอให้เขียนแผนฉุกเฉินกรณีที่พบว่ามีเหตุฉุกเฉินจะต้องสามารถเข้าไปช่วยพวกปฏิบัติงานได้อย่างทันท่วงที และนำออกมาจากบริเวณที่อับอากาศได้อย่างปลอดภัย โดยการใช้อุปกรณ์การกู้ภัยต่างๆ ที่สามารถใช้ได้อย่างรวดเร็ว ตามแผนงานฉุกเฉินที่ได้นัดแนะกันไว้ในเบื้องต้น

ผู้ช่วยเหลือในที่อับอากาศจะเป็นคนคอยเฝ้าบริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศตลอดเวลา โดยส่วนใหญ่มักจะมีจำนวนสัดส่วนเกินสามคนขึ้นไป เพื่อให้สามารถช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว ผู้ช่วยเหลือจะต้องทำการฝึกเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์กู้ภัยต่างๆให้ถูกต้อง เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น จะทำให้ผู้ช่วยเหลือสามารถเข้าไปช่วยพนักงานออกมาจากที่อัดอากาศให้ปลอดภัยทั้งตัวผู้ปฏิบัติงานและตัว ทีมงานผู้ช่วยเหลือจนไปถึงการนำส่งโรงพยาบาลนั่นเอง

บทบาทหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

ปัจจุบันเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงอันตรายสูงสุด เนื่องจากเป็นผู้ที่ลงไปปฏิบัติงานหรือเข้าไปในพื้นที่อับอากาศ ดังนั้นคนที่ทำงานในที่อับอากาศจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและผ่านการฝึกอบรมการทำงานในที่อับอากาศ รวมไปถึงคนที่ทำงานในที่อับอากาศจะต้องระมัดระวังสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น การขาดอากาศหายใจ การสูดดมแก๊สพิษต่างๆ รวมไปถึง กรณีที่ทำงานเกี่ยวกับความร้อนและประกายไฟ จะต้องระมัดระวังสารเคมี Wi-Fi สารระเบิดต่างๆ ไม่ให้อยู่ในบริเวณที่ทำงาน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะก่อให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ หรือระเบิด และเกิดการเสียชีวิตได้นั่นเอง

ผู้ปฏิบัติงานสิ่งสำคัญ จะต้องคอยใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามประเภทงานที่ได้เข้าไปทำงานในที่อับอากาศ รวมไปถึงคนทำงานทุกคนจะต้องรู้ว่าตัวเองมีร่างกายที่แข็งแรงหรือไม่ มีความพร้อมในการปฏิบัติงานมากเพียงใด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บขณะที่ทำงานกับที่อับอากาศ สาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตหรือการเกิดการบาดเจ็บที่อับอากาศนั้น มักจะพบว่าพนักงานที่ทำงานไม่ได้มีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลและไม่ได้มีการประเมินอันตราย ก่อนที่จะเข้าไปทำงานในพื้นที่อับอากาศอย่างเพียงพอ รวมไปถึงควรจะมีการหามาตรการป้องกันอันตรายต่างๆ ก่อนที่จะเข้าไปอยู่ในที่อับอากาศ เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

You may also like

Copyright @2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by อบรมที่อับอากาศ